วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

ความสำคัญและที่มา





ความสำคัญและที่มา
การจัดการการศึกษาในปัจจุบัน ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ต้องยึดหลักว่า “ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” ซึ่งตรงกับวิธีที่เรียกว่า เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  ผู้สอนมีความสำคัญในฐานะที่เป็นผู้ชี้แนะแนววิธีเรียนรู้แบบต่างๆและอธิบายความรู้พื้นฐาน ให้ผู้เรียนเข้าใจสำหรับเป็นพื้นฐานที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ด้วยตนเอง ตามวิธีเรียนรู้ที่ได้รับการชี้แนะ และพัฒนาเป็นวิธีเรียนรู้ของตนเอง
สื่อการเรียนการสอน และแหล่งการเรียนรู้ นับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน  ซึ่งนอกจากที่จะสร้างความสนใจใฝ่รู้ในการเรียนแล้ว  ยังทำให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วย  ดังที่ได้กล่าวไว้ ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(5)  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม  สื่อการเรียน และอำนวยสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
ข้าพเจ้า นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์  ในฐานะของครูผู้สอน รายวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอน ตามแนวทางของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จึงได้ดำเนินการจัดทำ นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอน ขึ้น ซึ่งเป็นการผลิตสื่อการเรียนการสอน เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ ให้การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เรียน   ได้อย่างเต็มตามศักยภาพ อันส่งผลดีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นของผู้เรียนต่อไป
วัตถุประสงค์
1.  ผลิตสื่อการเรียนการสอน เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
2.  เพื่อใช้สื่อการเรียนการสอน เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการเรียนรู้  สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับผู้เรียน
3.  เพื่อเป็นการจัดการเรียนการสอน ที่เป็นไปตามแนวทางของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
4.  เพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ และมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
ด้านปริมาณ -   นักเรียน ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีความพึงพอใจในการใช้สื่อการ เรียนการสอน
ประกอบการจัดการเรียนรู้ และมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น โดยมีผลการ
ประเมินผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60
-   ครูผู้สอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีความพึงพอใจในคุณภาพของสื่อการเรียนการสอน
และการนำสื่อการเรียนการสอนไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ โดยมีผลการประเมิน
ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60
ด้านคุณภาพ -   ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการใช้สื่อการเรียนการสอน ประกอบการจัดการเรียนรู้ และมีความ
สนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
-   ครูผู้สอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีความพึงพอใจในคุณภาพของสื่อการเรียนการสอน
และการนำสื่อการเรียนการสอนไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้
-   ได้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายและมีคุณภาพ ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ ให้กับผู้เรียน
เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
-   นักเรียน ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีความพึงพอใจในการใช้สื่อการ เรียนการสอนประกอบการจัดการเรียนรู้ และมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น โดยมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60
-   ครูผู้สอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีความพึงพอใจในคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนและการนำสื่อการเรียนการสอนไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ โดยมีผลการประเมิน    ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60
ด้านคุณภาพ
-   ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการใช้สื่อการเรียนการสอน ประกอบการจัดการเรียนรู้ และมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
-   ครูผู้สอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีความพึงพอใจในคุณภาพของสื่อการเรียนการสอน และการนำสื่อการเรียนการสอนไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้
-   ได้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายและมีคุณภาพ ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ ให้กับผู้เรียน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
-     ความพึงพอใจในการใช้สื่อการเรียนการสอน ประกอบการจัดการเรียนรู้และความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
-     คุณภาพของสื่อการเรียนการสอน และการนำสื่อการเรียนการสอนไปใช้ ประกอบการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ได้สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายและมีคุณภาพ ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีความรู้ ความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
พัฒนาสื่อและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามแนวทางของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ และมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
ครูผู้สอนมีความพึงพอใจในคุณภาพของสื่อการเรียนการสอน และสามารถนำสื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ไปใช้ ประกอบการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การสร้างเครือข่ายของการพัฒนานวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนของครู มีการเผยแพร่และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อวงการศึกษาต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น